จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน โดยจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา เชียงราย หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี และ นราธิวาส จึงส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี แรงงานไทยและ
แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอาจประสบอันตรายจากการทำงาน และ กลุ่มแรงงานได้รับการขึ้นทะเบียนควรได้รับการดูแลสุขภาพด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องเตรียมความพร้อม เรื่อง การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
หน่วยบริการสาธารณสุขในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพัฒนาศักยภาพการจัดบริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ตั้งแต่ โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ
นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสารเคมีและรังสีของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community ; AEC) โดยมีแผนการเตรียมความพร้อมตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีและรังสี ประกอบด้วยการดำเนินงาน
หลัก 4 ด้าน ได้แก่ การป้องกัน (Prevention) การเตรียมความพร้อม (Preparedness) การตอบโต้ (Response) และฟื้นฟู (Recovery) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุน การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและภัยสุขภาพจาก
มลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการดำเนินงานด้านเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมการจัดบริการอาชีวอนามัย
และเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ตามสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ และผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไข
แผนงาน/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์:
ข้อมูลประกอบ
PowerPoint นำเสนอ